เรื่องเกี่ยวกับเห็ดทั้งหมด
แชร์บน facebook ของคุณ
เรื่องมาใหม่
- เพาะเห็ดโคนน้อยออนไลน์
- อบรมการทำก้อนเชื้อเห็ด
- ปัญหาระหว่างการผลิตแม่เชื้อ หัวเชื้อ และก้อนเชื้อเห็ด
- สรรพคุณของเห็ดหูหนูขาว
- สรรพคุณของเห็ดฟาง
- สารพิษจากเห็ด
- ฐานข้อมูลเชื้อรา
- เตาผลิตไอน้ำสำหรับโรงเรือนเพาะเห็ด
- กำหนดการอบรมเรื่องการทำฟาร์มเห็ดครบวงจร วันที่ 1 ธค 56
- โรคและปัญหาที่สำคัญในการเพาะเห็ดฟาง
- การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูเห็ดที่ปลูกในโรงเรือน
- โรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อสาเหตุ
- โรคเห็ดจากเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
- โรคทีเกิดจากเชื้อรา
- วิธีทดสอบเห็ดมีพิษ
- ปัจจัยหลักที่เชื้อราต้องใช้ในการเจริญเติบโต
- ศัตรูทำลายไม้ยางพารา
- ชนิดของไม้
- รอบรู้เรื่องเห็ดพิษ
- การรับประกันก้อนเชื้อเห็ด
บทความเรื่องเห็ด
การกำจัดราเขียว,ไร ด้วยจุลินทรีย์ BS. และจุลินทรีย์ BT.
การกำจัดราเขียว,ไร ด้วยจุลินทรีย์ BS. และจุลินทรีย์ BT.
จุลินทรีย์ BS. เป็น แบคทีเรียสกุล บาซิลัส สายพันธุ์คัดเลือกแล้วว่ามีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดเชื้อรา โรคพืชต่างๆ เช่น โรคราเขียว โรคราส้ม อีกทั้งยังมีผลกระตุ้นและเพิ่มผลผลิตหากนำไปใช้การเพาะเห็ด
วิธีทำ : นำมะพร้าวอ่อน 1 ผล มาเฉาะเปิดฝา ใส่เชื้อจุลินรีย์ BS. 1 ช้อนชา ลงไปในผลมะพร้าวอ่อน คนให้เข้ากัน ปิดฝาหมักไว้ในที่ร่มประมาณ 24 - 48 ชม.
วิธีใช้ : นำน้ำมะพร้าวที่หมักกับจุลินทรีย์ BS. 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วก้อนเชื้อให้เปียกชุ่มโชก ช่วงตอนเย็นติดต่อกัน 3 วันหลังจากแขวนก้อนเชื้อ
จุลินทรีย์ BT. เป็น ผลิตภัณฑ์จากจุลินทรีย์ปฏิปักษ์ในกลุ่มแบคทีเรีย ที่ได้รับคัดเลือกว่ามีประสิทธิภาพสูง ในการป้องกันและกำจัดไรศัตรูเห็ด โดยเฉพาะไรไข่ปลา ซึ่งเป็นปัญหาในธุรกิจการเพาะเห็ดเพื่อการค้าปัจจุบัน
วิธีทำ : นำมะพร้าวอ่อน 1 ผล มาเฉาะเปิดฝา ใส่เชื้อจุลินรีย์ BT. 1 ช้อนชา ลงไปในผลมะพร้าวอ่อนคนให้เข้ากัน ปิดฝาหมักไว้ในที่ร่มประมาณ 24 - 48 ชม.
วิธีใช้ : นำน้ำมะพร้าวที่หมักกับจุลินทรีย์ BT. 10 ซีซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วก้อนเชื้อให้เปียกชุ่มโชกและบริเวณภายในโรงเรือน ช่วงตอนเย็นติดต่อกัน 3 วันหลังจากแขวนก้อนเชื้อ และฉีดทุก ๆ 5 -7 วัน/ครั้ง
 
 
การกระตุ้นเห็ดภูฐานด้วยฮอร์โมน
การกระตุ้นเห็ดภูฐานด้วยฮอร์โมน
การทำฮอร์โมนเร่งดอก
- ใช้นมสด (ตราเหยี่ยว) อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ ครึ่งลิตร ( 500 ซี.ซี)
ผสมนมสดและน้ำตาลทรายกวนให้เข้ากัน เติมน้ำครึ่งลิตร ใส่กระบอกน้ำฉีดพ่นที่ปากถุงเห็ด ฉีด 20 วันครั้ง หรือดูว่าผลผลิตเริ่มลดลง เช่น ดอกเล็ก ดอกผอม ใช้สลับร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมด้วยจะทำให้ตีนเห็ดโต ดอกโตและอวบขึ้น ยืดอายุการเก็บเห็ดเพิ่ม
การทำน้ำหมักชีวภาพ
- น้ำ 100 ลิตร
- อีเอ็ม 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 2 ลิตรครึ่ง
นำทั้ง 3 ส่วนผลมเข้าด้วยกัน หมักนาน 15 วัน กวนทุกวันปิดปากถังให้มิด หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปทุกวัน วันละ 5 ลิตรจนครบ 200 ลิตร นำเศษเห็ดที่เหลือ เช่น ตีนเห็ด เศษเห็ด ไปหมักในถังน้ำหมักชีวภาพ
วิธีใช้
ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ( หากเข้มข้นเกินให้ปรับลดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามความเหมาะสม ) ฉีด 2-3 วัน/ครั้ง ใส่กระบอกฉีดพ่นฝอยบริเวณปากถุง ไม่ควรฉีดใกล้ปากถุงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นตามมาได้
นางพวงรัตน์ คมกล้า นางสุภาพร สุวรรณกูล ผู้จัดทำข้อมูล
 
 
เพิ่มการผลิตเห็ดภูฏาน ระยะอากาศหนาวเย็น
วันที่ : 28 ธันวาคม 2550
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางรม
ขณะ ที่อากาศค่อนข้างร้อนการผลิตเห็ดขอนขาว และเห็ดกระด้างจะได้ผลดีกว่าเห็ดภูฏานซึ่งมีถิ่นกำเนิดในที่หนาวเย็นกว่า ประเทศไทย ส่วนฤดูร้อนและฤดูฝน การผลิตเห็ดนางรมขาวหรือนางรมฮังการีจะดีกว่าเห็ดภูฏานที่บางครั้งแทบไม่ เกิดดอกเห็ดเลย ดังนั้นการวางแผนการผลิตโดยทำตารางกำหนดงาน หรือปฏิทินการผลิตเห็ดแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับฤดูกาลจึงเป็นเรื่องสำคัญไม่ น้อยไปกว่าผลิตเห็ดอะไรขายให้ใคร
เห็ดภูฏานมีชื่อเต็มๆ ว่าเห็ดนางฟ้าภูฏาน มี 2 สายพันธุ์คือดำกับขาว(หรือครีม) เพาะโดยใช้ขี้เลื่อยแบบเดียวกับการเพาะเห็ดถุงทั่วไป เช่น เห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดยานากิ เห็ดกระด้าง เห็ดขอน เห็ดหอม ฯลฯ เกิดดอกเห็ดได้ดีในเดือนพฤศจิกายน? ธันวาคม มกราคม ถ้าปีใดหนาวเร็วก็นับเดือนตุลาคมด้วย และปีใดหมดหนาวช้าก็อาจนับเดือนกุมภาพันธ์ด้วย ภาคเหนือและอีสานอากาศเย็นกว่าจึงผลิตเห็ดได้มากกว่า แต่กรุงเทพฯ เป็นตลาดใหญ่กว่า รับสินค้าได้มากกว่า เมื่อเข้าเดือนตุลาคม การผลิตถุงเชื้อเห็ดก็ควรลดเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า เห็ดภูฏานขาว ให้น้อยลงแล้วเพิ่มการผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานดำเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามความหนาวในภาคกลางไว้ใจไม่ได้ จึงไม่ควรทุ่มเทผลิตแต่นางฟ้าภูฏานดำทั้ง 100% บางปีมีร้อนสลับหลายวันที่เห็ดไม่เกิดดอก แต่ถ้าเราผลิตถุงเชื้อเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฏานขาวได้สัก 20-30% เห็ดจำนวนนี้จะเกิดดอกให้พอเก็บขายได้เงินบ้างแม้จะร้อนจนเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ ไม่สร้างดอกเห็ดก็ตาม
ที่มา : ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรอ่านเพิ่มเติม...
 
 
ไรศัตรูเห็ดนางฟ้า :กำจัดด้วยจุลินทรีย์ที่ชัยนาท
วันที่ : 02 มกราคม 2551
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า
คุณ ศรัญ พรหมอินทร์ อยู่ที่ 100 หมู่ 3 ต.สามง่ามท่าโบสถ์ อ.หันคา จ.ชัยนาท ทำอาชีพเพาะเห็ดนางฟ้า เมื่อเปิดปากถุงเพื่อให้เกิดดอกเห็ด พบว่าไรเห็ดลงกินเส้นใยเห็ดในถุงจนเห็นสีของขี้เลื่อยสีน้ำตาลแดงมากกว่าสี ขาวของเส้นใยเห็ด ชาวบ้านที่เพาะเห็ดมักเรียกว่าไรแดง ซึ่งเป็นชื่อที่ผิด แต่นักปลูกเห็ดจะเข้าใจดี ตัวไรยังตามเกาะกินที่ดอกเห็ด ทำให้ดอกเห็ดหงิกงอ ขนาดเล็กกว่าปรกติ ผลผลิตรวมลดลงมาก จึงปรึกษาไปที่ชมรมเห็ดขอนแก่น? เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาโดยไม่ใช้สารพิษจำพวกยาเคมี
จากนั้นจึงหมักขยาย เชื้อจุลินทรีย์กำจัดไร คือ บาซิลลัส ไมโตฟากัส (ชื่อใช้อย่างไม่เป็นทางการ) คือใช้เชื้อ 10 กรัม ใส่ในน้ำ 20 ลิตร เติมนมข้นหวาน 1 กระป๋อง เติมอากาศโดยใช้ปั๊มลมแบบที่ใช้ในการเลี้ยงปลาสวยงามในตู้ปลา เอาหัวทรายวางไว้กลางกะละมังให้มีฟองอากาศเกิดตลอดเวลานาน 36-48 ชม. ก่อนนำไปใช้ เติมน้ำเปล่าเพิ่มได้อีก 40 ลิตร นำไปฉีดพ่นทั้งดอกเห็ดเล็ก ฉีดพ่นเข้าปากถุง บนชั้นวางก้อนเชื้อ บนพื้นดิน ผนังโรงเรือน ทำ 4-7 วันครั้ง พบว่าสามารถควบคุมมิให้ไรระบาดได้ นักวิชาการอธิบายว่าเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้สามารถผลิตน้ำย่อยชื่อ ไคตินเนส ทำให้ผนังลำตัวของไรอ่อนแอลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวอ่อนของไรมีขนาดเล็กมักเดินเบียดเสียดไปมาช่วยแพร่ เชื้อออกไป ทำให้ไรลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนเชื้อไม่มีผลเสียต่อเห็ด เห็ดจึงกลับมาสร้างดอกได้ดีอีก
ที่มา : ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรอ่านเพิ่มเติม...
 
 
วันที่ : 05 มกราคม 2551
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า
ถาม ผมเริ่มเพาะเห็ดนางฟ้าเป็นครั้งแรก 2,000 ก้อน ซื้อก้อนเชื้อเขามา หลังจากเก็บดอกเห็ดรุ่นแรกไปแล้ว พอเริ่มเกิดดอกเห็ดรอบสองก็มีแมลงตัวเล็กๆ บินได้ตรงกลางตัวคอดหน่อย ถ้าเขามาเกาะดอกเห็ดตอนเช้า พอตอนเย็นดอกเห็ดก็จะเหี่ยว จะเป็นการดูดกินน้ำเลี้ยงจากดอกเห็ดใช่หรือไม่ แก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? แมลงอะไรบ้างที่ทำลายเห็ดได้รวดเร็ว รอบแรกดอกเห็ดไม่ถูกทำลายเลย แมลงนี้ขยายพันธุ์ที่ไหน (ผู้ปลูกเห็ดมือใหม่ วังทอง พิษณุโลก)
ตอบ แมลงนี้เป็นแมลงอะไรตอบทันทีคงไม่ได้ แต่แมลงที่ทำลายเห็ด หรือมากินเห็ดอาจขยายพันธุ์ในมูลสัตว์ ในฟาร์มที่เริ่มผลิตเห็ดแมลงจะไปขยายพันธุ์ที่เศษเห็ดซึ่งตัดแต่งออกมาก่อน ส่งเห็ดไปขาย ควรต้องเก็บเศษเห็ดมิชิดหรือขนไปไกลฟาร์มเพื่อเป็นการตัดวงจรแมลง ถ้าทิ้งที่เดียวกันทุกวันไม่ช้าก็เป็นแหล่งเพาะขยายพันธุ์แมลงศัตรูเห็ด ส่วนใหญ่แมลงเหล่านี้วงจรชีวิตสั้น จึงขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนได้เร็ว เห็ดที่ถูกแมลงไปตอมอาจถูกวางไข่เกิดตัวหนอนกินในไส้ดอกเห็ด ไม่เหมาะต่อการขาย ก็เก็บทิ้งรวมกับเศษเห็ด ยิ่งเป็นการเพาะขยายพันธุ์แมลง ควรหมักขยายพันธุ์เชื้อบีที 1 ช้อนชาต่อน้ำมะพร้าวอ่อน 1 ผล ครบ 24 ชั่วโมง ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดที่ดอกเห็ด ระยะแมลงมีมาก 3-4 วัน/ครั้ง พอแมลงน้อยก็ยืดเป็น 5-7 วันครั้งได้ เชื้อนี้ไม่อันตรายต่อคนแต่ฆ่าหนอนของแมลงได้ดี มีบริการเชื้อทางไปรษณีย์? ควรต้องทำควบคู่กันเพราะแมลงไม่ได้มาจากเศษเห็ดอย่างเดียว จากมูลโคกระบือในพื้นที่ใกล้เคียงก็ได้ จึงควรฉีดพ่นบีทีกำจัดหนอนด้วย แต่ต้องหมักบีทีเองก่อน 24 ชม.
ที่มา : ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรอ่านเพิ่มเติม...
 
 
การทดลองเพาะเห็ดนางรม นางฟ้า โดยคลุมหน้าถุง
การทดลองเพาะเห็ดนางรม นางฟ้า โดยคลุมหน้าถุง | ||
วันที่ : 02 มกราคม 2551 | ||
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า | ||
การ เพาะเห็ดเมืองหนาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งคือแชมปิญอง จะเพาะโดยมีการใช้ดินผสมหรือพี้ท(ถ่านหินร่วน) คลุมผิวแปลงวัสดุเพาะเห็ดที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มที่แล้ว พร้อมต่อการที่จะทำให้เกิดดอกเห็ด การคลุมแปลงเห็ดแบบนี้เรียกว่า เคสซิ่ง และดินที่ใช้คลุมก็จะเรียกว่าเคสซิ่งซอยล์ (Casing Soil) ตั้งแต่ดั้งเดิมนั้นใช้ดินร่วน ถ้าไม่ร่วนก็ทำให้ร่วนโดยใช้ยิบซั่ม ถ้าดินเป็นกรดมีค่าพีเอชต่ำเกินไปก็ให้เติมหินปูนบดแล้วปรับจนได้พีเอ ชประมาณ 7.0 หรือไม่เกิน 8.0 ซึ่งพอใช้งานมีการรดน้ำค่าพีเอชจะลดลงมาอีก 1 เหลือที่ 6.0-7.0 ซึ่งถือว่าดีพอ | ||
ในต่างประเทศได้พัฒนา ดินคลุมแปลงเห็ดมาเรื่อยๆ จนในที่สุดมักลงเอยที่ใช้พี้ท 10 ส่วน หินปูนบด 1 ส่วน ยิบซั่ม 1 ส่วน ในไทยนั้นการใช้ระบบเคสซิ่ง แต่เดิมทำกับแชมปิญอง ที่เพาะปลูกในฤดูหนาว โดยใช้ดินจากภูเขาไฟผุในภาคเหนือ ที่ใช้กับเห็ดถุงเคยใช้แต่กับเห็ดเป๋าฮื้อ การใช้ดินคลุมทำให้ต้องวางเห็ดถุงในแนวตั้ง แต่การเพาะเห็ดถุงในไทยนิยมวางถุงแนวนอนแบบใช้ชั้นวางถุงรูปตัวเอ (A) จึงใช้คลุมผิวไม่ได้ อาจารย์สมาน ชินเบญจพล ข้าราชการบำนาญ มช. เคยเพาะเห็ดนางรม แล้วเคสซิ่งหรือกลบดิน เห็ดออกรุ่นแรกเป็นช่อใหญ่ได้ 300-400 กรัม แล้วยังออกได้หลายรอบ <br />ในหนังสือการเพาะเห็ดเป็นอาหารเสริมและเป็นยาของสตาเม็ทส์ กล่าวถึงเห็ดที่ตอบสนองต่อการปลูกแบบคลุมดินคือเห็ดแชมปิญอง หลินจือ เห็ดถั่วเน่า(คอพรินัส) และเห็ดโคนญี่ปุ่น สวนเห็ดดอนปรูเคยทดลองแล้วถือว่าได้ผลดี ปัจจุบันทดลองเคสซิ่งกับเห็ดนางรม นางฟ้า โดยทำทั้งฉีดเชื้อพลายแก้ว 3 ครั้ง และเคสซิ่งร่วมด้วย นับว่าได้ผลผลิตสูงเป็น 2-3 เท่าของการเพาะแบบโรงเรือนชั้นตัวเอ (วิเชียร ธาตุงาม 089-9410194) ในอนาคตจะทำการทดลองกับเห็ดโคนญี่ปุ่นซึ่งราคาสูงกว่า | ||
ที่มา : ชมรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร |
 
 
ปัญหาที่พบบ่อยและการ แก้ไข (เห็ดนางฟ้าภูฏาน,นางรม,ฮังการี,เป๋าฮื้อ)
ปัญหาที่พบบ่อยและการ แก้ไข (เห็ดนางฟ้าภูฏาน,นางรม,ฮังการี,เป๋าฮื้อ) | ||
วันที่ : 10 กันยายน 2552 | ||
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า | ||
1.ปัญหาหน้าถุงเห็ดเหลืองและเน่า สาเหตุ น้ำเข้าถุงเห็ด การแก้ไข ใช้มีดกรีดเล็ก ๆ ใต้ขอบถุงเพื่อระบาย น้ำออกแล้วเอาเห็ดที่เน่าออกให้สะอาด 2.ปัญหา เห็ดดอกแรกเหี่ยวแห้งเหลือ สาเหตุ แคะหน้าถุงแล้วขี้เลื่อยแตกทำให้ เส้นใยประสานกันช้า ความชื้นในโรงเรือนน้อย การแก้ไข เก็บดอกที่เหี่ยวทิ้ง เพิ่มความชื้นในโรงเรือนโดยการรดน้ำ แก้ไขโรงเรือนอาจมีลมโกรกมากไป 3.ปัญหา ดอกเห็ดเน่าเปียกและเหลือง สาเหตุ ความชื้นในโรงเรือนมากเกินไป อากาศในโรงเรือนไม่ถ่ายเท การแก้ไขลดการให้น้ำภายในโรงเรือน ถ้าดอกเห็ดภายในโรงเรือนบาน เป็นส่วนใหญ่ควรรดน้ำน้อย ๆ แต่บ่อย ๆ เพื่อป้องกันน้ำขังบน ดอกและทำให้เน่าเหลืองได้ ปรับทิศทางระบายอากาศภาย ในโรงเรือนเพื่อให้มีการถ่ายเทที่ดีขึ้น ในเวลากลางคืนให้เปิดประตูโรงเรือน เพื่อไล่ความชื้นและอากาศเก่าออก | ||
4.ปัญหา ภายในโรงเรือนอบอ้าว สาเหตุทิศทางระบายอากาศไม่ดี การแก้ไข เปิดหรือปรับช่องระบายอากาศของโรงเรือน ปัญหาแมลงสาบบุก ผู้เพาะเห็ดมือใหม่ อาจพบปัญหา แมลงสาบมาแทะกินดอกเห็ด อาจมีเพียงเล็กน้อย ดอกเห็ดแหว่ง ไม่สวย ขายไม่ได้ราคา แต่บางรายปลูกเรือนเพาะเห็ดใกล้ท่อระบายน้ำ เวลาเห็ดออกดอกอาจมีแมลงสาบเข้ามาเป็นฝูง อาจกัดกินเห็ดจนโกร๋นเหลือแต่ก้านดอก การป้องกันกำจัดแมลงสาบทำได้หลายวิธีร่วมกัน ควรทำตั้งแต่เริ่มมีปัญหาเพียงเล็กน้อย อย่ารอให้ปัญหาใหญ่ หรือแมลงสาบขยายพันธุ์จนมีมาก เมื่อพบร่องรอยการกัดแทะดอกเห็ดให้สำรวจ ว่าแมลงสาบหลบซ่อนที่ใด เข้ามาสู่บริเวณที่ดอกเห็ดอย่างไร หากไต่ขึ้นทางต้นเสาอาจใช้กาวสองหน้าติดรอบเสา ซึ่งจะทำลายหนวดและขาของแมลงสาบได้จำนวนหนึ่ง ถ้าแมลงสาบเข้ามาโดยการบิน ให้เลือกจุดที่เหมาะสมให้แมลงเข้าเรือนเพาะเห็ดเห็นได้ง่าย จุดนี้ติดตั้งหลอดแบล็คไลท์ เปิดไฟเวลากลางคืนใช้กะละมังใส่น้ำใส่สารลดแรงตึงผิวของน้ำ เช่น ALS 29 หรือผงซักฟอก เพื่อให้แมลงมาเล่นไฟแล้วตกน้ำ จมน้ำตายได้ง่ายขึ้น หากสามารถหากรงดักแมลงสาบมา ใช้ได้ก็ควรนำมาใช้ด้วย เส้นทางออกจากที่ซ่อนจะมาก้อนเห็ดนั้นควรมี ถาดเหยื่อพิษวางไว้ให้แมลงสาบกิน ก็ลดแมลงสาบได้อีกส่วนหนึ่ง แมลงสาบยังถูกล่อได้ด้วยกลิ่นที่ใช้ล่อแมลงอื่นๆ เช่น กลิ่นล่อแมลงวันผลไม้ เป็นต้น แม้ขวดน้ำอัดลม ขวดเหล้าเบียร์ มีเศษ เหลือตกค้าง จับวางทางตั้งเติมน้ำ 1 ใน 3 ของขวดตั้งไว้ แมลงสาบจะเข้าไปสำรวจจมน้ำในขวดขึ้นมาไม่ได้ สัตว์ที่กินแมลงสาบได้ดีในธรรมชาติ คือ ต๊กโต (ตุ๊กแก) ซึ่งจะตามกลิ่นสาบไปและจับแมลงสาบกิน ผู้เพาะเห็ดจึงไม่ควรรังเกียจเสียงร้องและ รูปร่างของสัตว์ที่กินแมลงสาบและแมลงอื่น การมีต๊กโตจะช่วยลดจิ้งจกให้น้อยลงด้วยส่วนหนึ่ง และลดหนูขนาดเล็กๆ ลงไปด้วย | ||
ที่มา : อาจารย์ดีพร้อม ไชยวงศ์เกียรติ, ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ |
 
 
กระตุ้นเห็ดนางฟ้า นางรมให้ออกดอกพร้อมกัน โดยการงดน้ำ
กระตุ้นเห็ดนางฟ้า นางรมให้ออกดอกพร้อมกัน โดยการงดน้ำ | ||
วันที่ : 19 ตุลาคม 2552 | ||
หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า | ||
เรื่อง ของการเพาะเห็ดนั้น กล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับอัธยาศรัยของผู้เพาะโดยแท้ นอกจากเกษตรกรจะสามารถเลือกชนิดเห็ดที่ชอบ ระยะเวลา ปริมาณที่เพาะได้ตามความสมัครใจ และความพร้อมได้แล้ว เกษตรกรบางรายยังเลือกที่จะบังคับให้เห็ดทะยอยออกดอกให้ได้เก็บทุกวัน เพื่อให้ได้เงินทุกวันและไม่ให้ล้นตลาด ในขณะที่เกษตรกรอีกคนอาจเลือกที่จะบังคับให้เห็ดออกดอกเป็นชุดๆ พร้อมๆกัน เพื่อให้เก็บได้คราวละมากๆ จะได้ไม่เสียเวลา และใช้วิธีหมุนเวียน(กรณีมีก้อนเห็ดมาก) ส่วนวิธีการบังคับดอกนั้น เฉพาะเห็ดนางฟ้า- นางรม ทำได้หลายวธีทั้งใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน แต่ขอเล่าให้ฟังเฉพาะวิธีงดน้ำ | ||
1.วิธีการนี้ใช้ได้กับ เห็ด ตระกูลนางฟ้า-นางรมเท่านั้น 2.ใช้วิธีการนี้หลังจากเก็บเห็ดรุ่นแรกแล้ว(ซึ่งเห็ดรุ่นแรกมักจะออกดอก พร้อมกันอยู่แล้ว) 3.หากอยากให้เห็ดทะยอยออกดอกทุกวัน ก็ใช้วิธีรดนำให้ความชื้นสมำเสมอทุกวัน ก้อนเห็ดจะรัดตัว และเมื่อพร้อมก็จะทะยอยออกดอกให้ได้เก็บทุกวัน มากบ้าง น้อยบ้าง 4.หากอยากให้ออกดอกเป็นชุด หลังจากเก็บดอกเห็ดชุดแรกเสร็จ ให้ทำความสะอาดหน้าเห็ด หากพบรากเห็ด หรือโคนเห็ดถูกดึงออกไม่หมดติดค้างอยู่ที่คอขวด ให้ใช้ช้อนแคะออกให้หมด จากนั้นงดให้นำเห็ดนางรม-นางฟ้า เป็นเวลา 4-7 วัน หากในระยะ 4-5 วันแรกมีเห็ดแทงดอกให้แคะทิ้ง หรือปล่อยให้ดอกเห็ดแห้ง ห้ามใจอ่อนรดน้ำเด็ดขาด เมื่อถึงวันที่ 6-7 หรือหากเป็นพันธุ์หนัก วันที่ 9-10 จะเกิดตุ่มดอกเห็ดชุดใหม่ทะยอยเกิดขึ้นพร้อมๆกัน ให้เริ่มรดนำให้ความชื้น และอาจกระตุ้นให้ความสดชื่นโดยการใช้เครื่องดื่มชูกำลังที่มีขายทั่วไป อัตรา 1 ขวด ผสมนำ 20 ลิตร ฉีดพ่น หลังให้นำครั้งแรก เห็ดจะออกดอกใด้สมำเสมอยิ่งขึ้น (ห้ามใช้ปุ๋ยเคมีนะครับ เห็ดจะออกดอกครั้งเดียวแล้วหายไปเลยเพราะเสียกำลัง) เท่านี้เห็ดนางฟ้า-นางรมของท่านก็จะออกดอกพร้อมกันเป็นชุดๆแล้ว | ||
 
 
เรื่องที่มีคนอ่านมากที่สุด
- การเปิดดอกเห็ดสำหรับมือใหม่ (เห็ดภูฐาน นางฟ้า เป๋าฮื้อ ยานางิ นางนวล ฮังการี หลินจือ หัวลิง)
- ปัญหาที่พบบ่อยและการ แก้ไข (เห็ดนางฟ้าภูฏาน,นางรม,ฮังการี,เป๋าฮื้อ)
- การกำจัดราเขียว,ไร ด้วยจุลินทรีย์ BS. และจุลินทรีย์ BT.
- ราคาสินค้าเกษตร
- หลักในการเพาะเห็ด
- กระตุ้นเห็ดนางฟ้า นางรมให้ออกดอกพร้อมกัน โดยการงดน้ำ
- โรงเรือนเพาะเห็ด
- การทดลองเพาะเห็ดนางรม นางฟ้า โดยคลุมหน้าถุง
- เห็ดนางฟ้า : แมลงรบกวนดอกเห็ด
- การกระตุ้นเห็ดภูฐานด้วยฮอร์โมน
เห็ดที่ต้องการเพาะ
การกระตุ้นเห็ดภูฐานด้วยฮอร์โมน






การกระตุ้นเห็ดภูฐานด้วยฮอร์โมน
การทำฮอร์โมนเร่งดอก
- ใช้นมสด (ตราเหยี่ยว) อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ
- น้ำ ครึ่งลิตร ( 500 ซี.ซี)
ผสมนมสดและน้ำตาลทรายกวนให้เข้ากัน เติมน้ำครึ่งลิตร ใส่กระบอกน้ำฉีดพ่นที่ปากถุงเห็ด ฉีด 20 วันครั้ง หรือดูว่าผลผลิตเริ่มลดลง เช่น ดอกเล็ก ดอกผอม ใช้สลับร่วมกับการใช้น้ำหมักชีวภาพ ร่วมด้วยจะทำให้ตีนเห็ดโต ดอกโตและอวบขึ้น ยืดอายุการเก็บเห็ดเพิ่ม
การทำน้ำหมักชีวภาพ
- น้ำ 100 ลิตร
- อีเอ็ม 1 ลิตร
- กากน้ำตาล 2 ลิตรครึ่ง
นำทั้ง 3 ส่วนผลมเข้าด้วยกัน หมักนาน 15 วัน กวนทุกวันปิดปากถังให้มิด หลังจากนั้นเติมน้ำลงไปทุกวัน วันละ 5 ลิตรจนครบ 200 ลิตร นำเศษเห็ดที่เหลือ เช่น ตีนเห็ด เศษเห็ด ไปหมักในถังน้ำหมักชีวภาพ
วิธีใช้
ใช้น้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร ผสมน้ำ 10 ลิตร ( หากเข้มข้นเกินให้ปรับลดน้ำปุ๋ยหมักชีวภาพได้ตามความเหมาะสม ) ฉีด 2-3 วัน/ครั้ง ใส่กระบอกฉีดพ่นฝอยบริเวณปากถุง ไม่ควรฉีดใกล้ปากถุงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดเชื้อราชนิดอื่นตามมาได้
นางพวงรัตน์ คมกล้า นางสุภาพร สุวรรณกูล ผู้จัดทำข้อมูล
คอมเมนต์คอมเมนต์
2. ลักษณะการวางก้อ นตอนบ่มเชื้อวาง แออัดเกินไปหรือ เปล่าครับ
3. อุณหภูมิต่ำหรือ สูงเกินไป และแสงสว่างมากเ กินไปหรือเปล่าค รับ
ลองนำก้อนที่เชื ้อไม่เดินต่อมาว างไว้บนพื้นดินแ ล้วสังเกตุดูนะค รับว่าภายใน 1 อาทิตย์มีการเดิ นต่อหรือไม่ ถ้าไม่มีการเดิน ต่อให้หาสาเหตุจ ากข้อ 1,2 และ 3 แต่เรื่องการฉีด ฮอร์โมนเข้าไป ไม่ควรทำครับ เพราะมันเป็นการ กระตุ้นให้เกิดด อกคับ
1. ใส่ฮอโมนกระตุ้น โดยแดเข้าก้อนได ้ไหม
ติดตามคอมเมนต์นี้ในรูปแบบ RSS feeds