การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย

การเพาะเห็ดฟางกอง เตี้ย

 

     เห็ด ฟางเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ใช้เวลาสั้น 5-7 วัน ก็เก็บดอกเห็ดที่เพาะได้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมบริโภคมาก ทำให้ความต้องการของตลาดสูง ซึ่งทำให้มีราคาดี ตลอดปี จึงมีผู้นิยมเพาะเห็ดฟางกันมาก การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยมีการพัฒนามาจากการเพาะแบบกองสูงซึ่งเป็นการประหยัดวัสดุเพาะและง่ายต่อการดูแล สามารให้อาหารเสริม และให้ผลผลิตที่แน่นอน

1. การเตรียมดินบริเวณเพาะเห็ด ควรขุดดินและย่อยให้ละเอียดไว้ก่อน และรดน้ำให้ดินเปียกชุ่ม บริเวณพื้นดินรอบ ๆ กองเพาะเห็ดจะได้เห็ดเพิ่มจาก ฟางบนกองเพาะเห็ดอีกจำนวนหนึ่ง

2. ไม้แบบ ไม้แบบเพาะเห็ดใช้ไม้กระดานมาทำเป็นแม่พิมพ์ โดยมีความยาว 120 เซนติเมตร สูง 30 เซนติเมตร ด้านบนกว้าง 25 เซนติเมตร

3. วัตถุดิบในการเพาะเห็ด จะนิยมฟางข้าวเพราะหาง่ายและมีจำนวนมาก จะใช้ฟางทั้งต้น หรือฟางข้าวนวดก็ได้ ยังมีวัตถุดิบอีกหลายชนิดที่ใช้เพาะเห็ดฟางได้ เช่น เปลือกของฝักถั่วเขียว ถั่วเหลือง ต้นถั่ว เปลือกหิวมันสำปะหลัง ผักตบชวา เศษต้นพืช ต้นหญ้า ปัจจุบันใช้ขี้เลื่อยจากการเพาะเห็ดถุงพลาสติก และผักตบชวา ก็ให้ผลผลิตดี เท่ากับฟาง วัตถุดิบที่ใช้ในการเพาะเห็ด ต้องนำไปแช่น้ำให้เปียก ใช้เวลา ในการแช่ประมาณ 30 นาที ก็นำไปเพาะเห็ดได้

4. อาหารเสริม การเพิ่มอาหารเสริมจะเป็นการเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น ที่นิยมคือไส้นุ่น เปลือกของฝักถั่ว ผักตบชวา จอกหูหนู มูลสัตว์ที่แห้งเช่นขี้ควาย ก่อนใช้ต้องแช่ให้ชุ่มน้ำเสียก่อน

5. เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟางที่นำมาใช้ควรมีอายุ 5-10 วัน จะเห็นเส้นใยเจริญเติบโตเต็มถุงสีขาว

6. วัสดุคลุมแปลงเพาะเห็ด โดยทั่วไปจะใช้ผ้าพลาสติกคลุม เป็นการควบคุมความชื้นและรักษาอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อการเจริญของเห็ด ถ้าเพาะในที่โล่งแจ้ง จะใช้ฟางใบมะพร้าว ใบตาล เพื่อป้องการแสงแดด เมื่อมีการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทำการเพาะเห็ดชั้นแรก โดยเห็ดฟางกองเตี้ยจะทำทั้งหมด 4 ชั้น

การเพาะชั้นที่ 1

- นำไม้แบบหรือแม่พิมพ์เพาะเห็ดวางบนพื้นที่เตรียมไว้ นำฟางที่แช่น้ำใส่ลงในไม้แบบขึ้นย่ำพร้อมรดน้ำจนแน่นพอดี และให้มีความหนาประมาณ 10 เซนติเมตร

- นำอาหารเสริมที่ชุ่มน้ำ โรยรอบขอบไม้แบบบนฟางบาง ๆ ทั้งสี่ด้าน

- ใส่เชื้อเห็ด เชื้อเห็ดฟาง 1 ถุง มีน้ำหนักประมาณ 2 ขีด ขยี้เชื้อเห็ดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้ำย แล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน นำส่วนที่ 1 โรยลงบนอาหารเสริมให้ทั่วทั้งสี่ด้าน การเพาะชั้น 2-4 ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับชั้นที่ 1 จนครบ 4 ชั้น

สำหรับชั้นที่ 4 ซึ่งเป็นชั้นบนสุดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าของแปลง แล้วนำฟางแช่น้ำมาคลุม หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใช้มือกดให้แน่น พอสมควร

- ยกแบบไม้ออก ควรยกด้านหัวและท้ายพร้อม ๆ กัน นำไปเพาะแปลงต่าง ๆ ไป โดยแต่ละกอง แปลงเพาะเห็ดให้ห่างกันประมาณ 10-15 เซนติเมตร

- ช่องว่างระหว่างแปลงเพาะเห็ดให้โรยอาหารเสริมและเชื้อเห็ด บนดินคลุมด้วยฟางบาง ๆ

- คลุมแปลงเพาะเห็ดด้วยผ้าพลาสติก ถ้าทำหลาย ๆ กองให้คลุมผ้าพลาสติก ยาวตลอดทุกแปลงเป็นผืนเดียวกัน

7. นำฟางแห้ง คลุมทับบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง

การดูแลรักษา

1. การคลุมผ้าพลาสติกแปลงเพาะเห็ด เป็นการรักษาอุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเห็ด โดยในวันที่ 1-3 ไม่ต้องเปิดผ้าพลาสติกเลย 2. เมื่อถึงวันที่ 3 ให้เปิดผ้าพลาสติกออก เพื่อเป็นการระบายอากาศปล่อยไว้ประมาณ 1 เซนติเมตร (ในระยะนี้จะสังเกตเห็นเส้นใยของเห็ดเจริญบนอาหารเสริมและฟาง ยังไม่ เกิดดุ่มดอก)

3. นำฟางแห้งคลุมทับบนแปลง หนาประมาณ 3-5 เซนติเมตร แล้วคลุมทับด้วยผ้าพลาสติกเดิมบนฟาง แล้วปิดทับด้วยวัสดุป้องกันแสงบนผ้าพลาสติกอีกครั้ง อาจจะเป็น ใบมะพร้าวแผง หญ้าคา หรือฟางแห้งก็ได้

4. ต่อจากวันที่ 4 ของการเพาะให้เปิดแปลงเพาะเห็ดทุกวันเป็นการระบายอากาศและดูแลการเจริญ ของดอกเห็ดในวันที่ 5 จะเห็นตุ่มเห็ดสีขาวเล็ก ๆ บนฟางของแปลงเพาะเห็ด

5. ในระยะนี้ถ้ากองเห็ดแห้งให้รดน้ำเบา ๆ เป็นฝอยละเอียดบนฟางคลุมกองและรอบกอง ห้ามรดน้ำแปลงเพาะเห็ดเด็ดขาด จะทำให้ดอกเห็ดฝ่อและเน่า ถ้าเป็นฤดูฝนควรคลุมผ้า พลาสติกให้มิดชิด และทำร่องระบายน้ำรอบแปลงเพาะเห็ด

6. ดอกเห็ดจะพัฒนาเจริญเติบโต และเก็บผลผลิตได้ราววันที่ 7-9 วัน ของการเพาะเห็ด แล้วจะเก็บดอกเห็ดไว้ราว 2-3 วัน ต่อจากนี้ไปจะได้ผลผลิตน้อย (ถ้าใช้ฟาง 10 กิโลกรัม จะได้ดอกเห็ด 1-2 กิโลกรัม)

7. การเก็บผลผลิต การเก็บดอกเห็ดจะนิยมเก็บในตอนเช้า ๆ เพาะดอกเห็ดจะตูมเต็มที่ในช่วงตี 3-4 ถ้าช้ากว่านี้ดอกเห็ดจะบานจะขายไม่ได้ราคา การเก็บดอกให้ใช้มือจับตรง โคนดอกโยกนิดหน่อยแล้วดึงออกมา ถ้าติดกันหลาย ๆ ดอกให้เก็บทั้งหมด อย่าให้มีชิ้นส่วนขาดหลงเหลืออยู่จะทำให้เน่าและเห็นสาเหตุการเน่าเสีย ของดอกเห็ดได้

   ผู้ประกอบการเพาะเห็ดจะประสบปัญหามากมายหลายชนิด จึงจำเป็นต้องศึกษาสาเหตุและวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง เป็นการศึกษาด้วยประสบการณ์ของตนเองจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง แต่พอจำแนกปัญหาได้ดังนี้

1. พื้นที่เพาะเห็ด พื้นที่ที่มีสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดไม่ควรเพาะเห็ดในพื้นที่นี้

2. วัสดุที่ใช้ในการเพาะเก่าเกินไป ถ้าเป็นฟางข้าวที่เก็บไว้นาน ๆ จะมีเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่อยู่ในกองฟางเจริญและใช้อาหารในฟาง ทำให้ไม่พอต่อการเจริญ ของเห็ด ควรเลือกฟางค่อนข้างใหม่ แห้ง ไม่สดเกินไป และไม่มียาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าเชื้อราตกค้างอยู่

3. เชื้อเห็ด จะมีปัญหามากต่อผู้ประกอบการเพาะเห็ด โดยสาเหตุจากเชื้อเห็ดไม่บริสุทธิ์ สายพันธุ์ไม่ดี มีการต่อเชื้อกันหลายครั้งจนเชื้ออ่อนแอ ควรเลือกซื้อ เชื้อเห็ดจากแหล่งที่ไว้ใจได้

4. ฤดูกาล ดินฟ้าอากาศ จะมีผลต่อการเจริญของเห็ดได้อย่างมาก โดยเฉพาะในฤดูหนาวเห็ดฟางจะไม่เจริญถ้าไม่มีการควบคุมอุณหภูมิ ถ้าใน ฤดูฝน จะทำให้แปลง เพาะเปียกชื้น ดอกเห็ดจะเน่าควรคลุมแปรง เพาะให้ มิดชิด ในฤดูร้อนอุณหภูมิในแปลงเพาะ จะสูงมาก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิต่ำ แตกต่างกันมากในเวลากลางวัน และกลางคืน (ไม่ควรต่างกัน 10 องศาเซลเซียส) ควรจะให้มีการระบายอากาศ และควบคุมความชื้นให้ เหมาะสม

5. การเพาะเห็ดฟางซ้ำในที่เดิมหลายครั้งจะมีการสะสม ศัตรูเห็ด และโรคเห็ด ทำให้ผลผลิตลดลง หรือไม่ได้เลย ถ้าจำเป็นต้องเพาะซ้ำที่เดิม ควรใช้ไฟเผาพื้นที่ และโรยปูนขาวเพื่อ ปรับสภาพ พื้นที่ใหม่

6. น้ำที่ใช้ในการแช่ฟาง ต้องมีสภาพเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ที่ 6.5-7 น้ำต้องไม่เน่าเหม็น ถ้าเป็นน้ำประปา ต้องทิ้งไว้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง และไม่มีสารเคมีและยาฆ่าแมลงตกค้างอยู่

7. ศัตรูเห็ด เช่น มด ปลวก ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้พื้นที่ที่อาศัยของมด ปลวก ทำการเพาะเห็ด ควรแก้ไขโดยใช้ยาฆ่าแมลงผสมน้ำรดดินแล้วปล่อยไว้ประมาณ 1-2 เดือน ถึงทำการเพาะเห็ด

8. ศัตรูจาก หนู กิ้งกือ จิ้งเหลน ที่ชอบเข้ามาอาศัยในแปลงเห็ด แล้วกัดกินดอกเห็ดหรือคุ้ยเขี่ยทำให้เกิดความเสียหาย ควรวางกับดักและทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย รอบบริเวณ เพาะเห็ด การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ชนิดของเห็ดที่ใช้เพาะในถุงพลาสติก จะเฟินเห็ดที่พบได้ตามธรรมชาติ ที่มีการเจริญบนท่อนไม้ผุ ๆ เพราะเห็ดชนิดนี้สามารถใช้สารประกอบที่มีโครงสร้างที่ซับซ้อนในเนื้อไม้ ได้ เช่น พวกโพลี แซคคาไรซ์ พวกเซลลูโลส เซลล์โลไมโอสและลิกนิน ในขบวนการย่อยอาหารของเห็ดเป็นแบบปล่อยน้ำย่อย หรือเอนไซม์ออกมาภายนอกเส้นใย เพื่อย่อยสลาย สารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่ ๆ ให้เล็กลง ซึมเข้าไปในเซลล์ได้ จากนั้นขบวนการย่อยของเห็ดจะดำเนินไปจนได้ดอกเห็ด

   การเพาะเห็ดในถุงพลาสติกจึงเป็นการเรียนแบบจากธรรมชาติ ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับชนิดของเห็ดแต่ละสายพันธุ์ เช่น เห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดหูหนู เห็ดขอน เห็ดแครง เห็ดหอม เห็ดลม ฯลฯ เห็ดเหล่านี้สามารถใช้ไม้หรือผลิตภัณฑ์จากไม้เป็นวัสดุเพาะได้อย่างดี การทำหัวเชื้อเห็ด เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นหนึ่ง ต้องมีการฝึกปฏิบัติให้ถูกต้องตามเทคนิคความชำนาญ จึงจะได้เชื้อเห็ดที่มีคุณภาพ ดอกเห็ดที่จะมาใช้ทำพันธุ์ ต้องเป็นดอกเห็ดสดใหม่ไม่เปียกน้ำ เป็นดอกเห็ดที่สมบูรณ์แข็งแรงไม่แก่และอ่อนเกินไป

  การเพาะเลี้ยงเส้นใยเห็ด ที่นิยมใช้กันมากคือการเพาะเลี้ยงจากเนื้อเยื่อ เป็นการขยายพันธุ์เห็ดที่ทำง่าย สะดวกและจะได้สายพันธุ์เห็ดเหมือนสายพันธุ์เดิม แต่ต้องใช้เทคนิค การปลอดเชื้ออื่นปลอมปนในการขยายพันธุ์เห็ดจากเนื้อเยื่อ ขั้นตอนนี้สำคัญมากสำหรับผู้ประกอบการเพาะเห็ด ผลผลิตดอกเห็ด จะให้ผลผลิตดีหรือไม่ดี สายพันธุ์เชื้อเห็ดมีส่วน สำคัญมาก ถ้าได้สายพันธุ์ ที่อ่อนแอ ซึ่งเกิดจาก การคัดเลือกดอกที่มาทำพันธุ์ หรือการต่อเชื้อเห็ด หลายครั้งจนเชื้อเห็ดอ่อนแอลง จนทำให้ผลผลิตดอกเห็ดต่ำลง เพราะฉะนั้นผู้ประกอบการควรมีสายพันธ ุ์ของตัวเองและควรคัดเลือกจาก ดอกเห็ดใหม่ จะได้สายพันธุ์ที่แข็งแรงและให้ผลผลิตสูง สม่ำเสมอ

1. อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ด อาหารเลี้ยงเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อดอกเห็ด จะใช้อาหารวุ้น PDA เห็ดทุกชนิดจะเจริญได้ดีในอาหารนี้ มีส่วนผสมและวิธีการดังนี้ อาหารวุ้น P.D.A. มีชื่อย่อมาจาก Patato Dextrose Agar ซึ่งมีความสำคัญมากในการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ด เชื้อเห็ดทุกชนิดสามารถเจริญได้ดีในอาหารนี้ การแยกเชื้อเห็ดจากเนื้อเยื่อ การเก็บรักษาเชื้อเห็ดไว้ หรือการเพิ่มปริมาณเชื้อเห็ด ต้องใช้อาหาร พี.ดี.เอ. เสมอ ส่วนผสมที่สำคัญได้แก่ มันฝรั่ง (Potato) 200 กรัม (100 กรัม เท่ากับ 1 ขีด) น้ำตาลเด็กซ์โตรส (Dextrose) 20 กรัม วุ้น (Agar) 15 กรัม น้ำ (น้ำสะอาด) 1 ลิตร วิธีทำ มันฝรั่งปอกเปลือกล้างให้สะอาด แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 1x1x1 ลูกบาศก์ เซนติเมตร หรือขนาดลูกเต๋า ไม่ควรหั่นเป็นชิ้นบางมาก การเพาะเห็ด เวลาต้มจะเละยากต่อการกรองเอากากออก นำมันฝรั่งนี้ ต้มกับน้ำสะอาด 1 ลิตร น้ำต้องสะอาดไม่เป็นกรดหรือด่าง ต้มให้เดือด เบา ๆ นาน 10-15 นาที ไม่ต้องคนหรือกวน แล้วกรองแยกกาก มันออก น้ำต้มมันที่ได้ต้องเติมน้ำลงไปอีกให้ครบ 1 ลิตร จะมีน้ำ ส่วนหนึ่ง สูญหายไประหว่างการต้ม เติมวุ้น 15 กรัม (วุ้น คือวุ้น สำหรับ ทำขนม จะอยู่ในรูปของวุ้นผง หรือเส้นใช้ได้เหมือนกัน) การใส่วุ้นต้อง ค่อยโรยใส่ลงไป พร้อมกวนตลอดเวลาเพื่อป้องกันวุ้นเกาะกัน เป็นก้อน นำไปต้มอีก ต้องกวนตลอดเวลา พอเริ่มจะเดือดวุ้นก็จะละลายหมด เติมน้ำตาลเด็กซ์โตรส 20 กรัม กวนให้ทั่วก็จะได้อาหาร พี.ดี.เอ. นำอาหารวุ้น พี.ดี.เอ. ใส่ลงในขวดแบน ให้สูงจากก้นขวดประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังไม่ให้อาหารและเปื้อนปากขวด ควรใช้กรวยที่มีก้านยาวหรือหม้อสำหรับกรอกอาหาร ที่มีสายต่อลงในปากขวดได้ อุดจุกปากขวดด้วยสำลี ให้แน่นพอประมาณ ใช้กระดาษห่อทับสำลีอีกชั้นหนึ่ง รัดด้วยหนังยาง อาหารวุ้นที่ใส่ขวดนี้ ยังมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ อื่น ๆ อยู่มากมายการต้มเดือด ไม่สามารถที่จะฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด จึงต้องนำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ให้หมดด้วยหม้อนึ่งความดันไอน้ำอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา : สำนักบริการคอมพิวเตอร์, ลงเว็บไซต์โดย นายบรรเจิด ยิ่งวงษ์

วันที่ : 13 ตุลาคม 2552หมวด เห็ด" กลุ่ม เห็ด นางฟ้า

 

© ฟาร์มเห็ด Bassbio. All Rights Reserved.

Login Form

Bassbio