การเพาะเห็ดโคนน้อย

 การเพาะเห็ดโคนน้อย

ภานุวรรธน์ ชุเลาตระกูล

  

วิธีการเตรียมเชื้อเห็ด

 นำเชื้อเห็ดมายีให้ร่วน (ขยี้เบา ๆ ) นำมาคลุกกับอาหารเสริม (แป้งข้าวเหนียวผสมรำละเอียดอัตราส่วน ๑:๑) อัตรา ๑ กำมือต่อเชื้อเห็ด ๑ ถุง คลุมพลาสติกหรือผ้าที่สะอาดทิ้งไว้ ๑-๒ คืน ก่อนนำไปใช้

   

วิธีการเตรียมน้ำปุ๋ย

 ละลายปุ๋ย แคลเซียมไนเตรท (๑๕ - ๐ - ๐) อัตรา ๑ กิโลกรัม/น้ำ ๖๐ ลิตร ต้มในถังต้มให้ร้อนอุณหภูมิ ๘๐ - ๙๐ องศาเซลเซียส

  

วิธีการเพาะ

 ๑.จุ่มวัสดุเพาะ (ฟางแห้ง) ในน้ำปุ๋ยที่กำลังร้อนให้ฟางเปียกชุ่มทั่วฟอน นานประมาณ ๓ นาที แล้วกองทิ้งไว้ให้เย็น

๒.วางแบบพิมพ์ไม้ ( ขนาด ๓๐x๓๐x๖๐ เซนติเมตร ) บนพื้นสะอาด ปูพลาสติกรองพื้นก่อน

๓.วางเชือกหรือลวดที่จะมัดไว้ในแบบพิมพ์ไม้ ๒ แนว

๔.อัดฟางในแบบพิมพ์ไม้เป็นชั้น ๆ ชั้นล่างสุดหนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตร โรยเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่วผิวหน้าฟาง

๕.อัดฟางชั้นที่ ๒ หนาประมาณ ๕-๑๐ เซนติเมตร โรยเชื้อเห็ดเฉพาะบริเวณริมขอบชิดข้างแบบพิมพ์ไม้โดยรอบ

๖.อัดฟางชั้นที่ ๒ และ ๔ และโรยเชื้อเหมือนชั้นที่ ๒

๗.ชั้นสุดท้ายโรยเชื้อเห็ดให้ทั่วผิวหน้าฟางแล้วทับด้วยฟางหนาประมาณ ๓-๕ เซนติเมตรมัดให้แน่นจะได้ก้อนวัสดุเพาะขนาดประมาณ ๓๐x๓๐x๖๐ เซนติเมตร

๘.กองก้อนฟางวัสดุเพาะบนพื้นที่พลาสติกปูรองไว้ในที่ร่ม รดซ้ำด้วยน้ำปุ๋ยที่เย็นแล้ว (ใช้ฝักบัวรดผ่านไปมาพอเปียก) แล้วคลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ ๓-๕ วัน

๙.เมื่อมีเส้นใยเห็ดเกิดขึ้นก้อนฟางหรือเริ่มเกิดดอกเล็ก ๆ ให้ย้ายก้อนฟางไปเปิดดอกในโรงเรือน โดยกก่อนย้ายเข้าให้พ่นน้ำในโรงเรือนให้มีความชื้นเสียก่อน

๑๐.ใน ๑-๒ วันแรกที่ย้ายวัสดุเพาะเข้าโรงเรือน ให้รักษาอุณหภูมิในโรงเรือนให้ได้ประมาณ ๓๕-๓๘ องศาเซลเซียส และรักษาความชื้นให้ได้ ๘๐-๙๐ %

เห็ดโคนน้อยจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ภายใน ๓-๕ วัน หลังจากย้ายเข้าโรงเรือนและจะเก็บได้ทุกวันเป็นระยะเวลา ๓-๔ สัปดาห์ ปริมาณผลผลิตต่อก้อนประมาณ ๑-๒ กิโลกรัม

 

หมายุเหตุ ปริมาณเชื้อเห็ดที่ใช้ประมาณ ๑ ถุง / ๑ ก้อนฟาง

 

ข้อสังเกต

๑.เลือกซื้อเห็ดจากสายพันธุ์ที่ดี

๒.เชื้อเห็ดไม่อ่อนหรือแก่เกินไป

๓.ควรลุกเชื้อเห็ดกับอาหารเสริม คลุมทิ้งไว้ ๑-๒ วันก่อนใช้

๔.ก่อนโรยเชื้อเห็ดต้องรอให้ฟางเย็นก่อน

๕.รักษาความชื้นในโรงเรือน ๘๕ %

๖.รักษาอุณหภูมิใน ๒ วันแรกที่เข้าโรงเรือนให้ได้ ๓๕-๓๘ องศาเซลเซียส

๗.ระวังในการเก็บเห็ดไม่ให้ก้อนวัสดุซ้ำ

๘.เก็บเห็ดในขณะดอกเห็ดโตพอสมควร และเก็บตอนเช้ามืดดอกจะบานช้า

๙.รักษาความสะอาดในโรงเรียนป้องกันมด และไรไม่ให้รบกวน

 

ต้นทุนการเพาะเห็ดโคนน้อย

 

รายชื่อวัตถุดิบ

 

ราคาต่อหน่วย

 

จำนวนที่ใช้

 

จำนวนเงิน

 

ผลตอบแทน

ผลผลิต ประมาณ ๑๐๐ กก. ราคาขาย ก.ก.ละ ๑๐๐-๑๘๐ บ.

ขายส่ง กก. ละ ๕๐ - ๘๐ บาท

ราคาขายที่ จ.เชียงใหม่

จ.ลำปาง

ฟางแห้ง

ปุ๋ยเห็ด

เชื้อเห็ด

อาหารเสริม ๒๐๑

เชื้อมัดก้อน/ก้อน

๒ บาท

๓๐ บาท

๑๐ บาท

๑๕ บาท

๑ บาท

๑๕๐ ฟ่อน

๑๕ กก.

๑๐๐ ถุง

๖ กก.

๑๐๐ ก้อน

๓๐๐ บาท

๔๕๐ บาท

 

๑,๐๐๐ บาท

๙๐ บาท

๑๐๐ บาท

รวมค่าวัสดุ ๑,๙๔๐ บาท

 

หมายเหตุ ต้นทุนยังไม่รวม

๑.โรงเรือน ขนาด ๔x๖ ประมาณ ๘,๐๐๐ บาท

๒.ถังต้ม ประมาณ ๕๐๐ บาท

๓.พลาสติกคลุมก้อน ๑๕ ม. ประมาณ ๔๕๐ บาท

๔.แบบพิมพ์ไม้ ประมาณ ๑๕๐ บาท

๕.ค่าแรง , ค่าเชื้อเพลิง

 

© ฟาร์มเห็ด Bassbio. All Rights Reserved.

Login Form

Bassbio