การเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น(ตั้งแต่ทำก้อนจนเปิดดอก)

Scientific classification

Kingdom: Fungi

Division: Basidiomycota

Class: Basidiomycetes 

Order: 
Agaricales

Family: Bolbitiaceae

Genus: Agrocybe

Species: Agrocybe cylindracea

 

เห็ดโคนญี่ปุ่น

ชื่ออื่น Yanagi Mutsutake (เห็ดยานากิ)

ชื่อวิทยาศาสตร์ Agrocybe cylindracea (Dc. Ex. Fr.) Maire.

สายพันธุ์ สีขาว , สีน้ำตาลเข้ม

เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นเห็ดอีกชนิดหนึ่งที่สามารถเพาะในถุงพลาสติกซึ่งมีวิธีการดูแลรักษาและการเพาะเลี้ยงคล้ายกับเห็ดนางฟ้าภูฏาน เพียงแต่ความชื้นที่ใช้ในการกระตุ้นให้เกิดดอกจะมีสูงกว่า และจะต้องมีการพักตัวเพื่อสะสมอาหารของก้อนเห็ด ก่อนจะนำไปเปิดดอกเหมือนเห็ดหอม และในปัจจุบันเห็ดโคนญี่ปุ่นกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในลักษณะของการจำหน่ายดอกเห็ดสดหรือเห็ดโคนญี่ปุ่นแปรรูปมีราคาที่ค่อนข้างสูงทีเดียวในบรรดาเห็ดที่สามารถเพาะได้ในถุงพลาสติกเรียกได้ว่า ไม่ถูกไปกว่าราคาของเห็ดหอมเลยทีเดียว ซึ่งรสชาดของเห็ดโคนญี่ปุ่นจะเป็นเอกลักษณะเฉพาะตัวคือจะมีหมวกดอกที่เหนียวนุ่มเหมือนเห็ดหอมแต่บริเวณขาของเห็ด โคนญี่ปุ่นจะกรอบอร่อยเห็ดโคนญี่ปุ่นได้ผ่านการพัฒนาสายพันธุ์มายาวนาน จนในปัจจุบันนี้สายพันธุ์ที่ส่งเสริม หรือ แนะนำให้เพาะจึงง่ายต่อการดูแลรักษาแต่ให้ผลผลิตสูงเห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่ใช้ประกอบอาหารได้ดีโดยเฉพาะก้านดอกซึ่งมีเนื้อเยื่อยาวและแน่นเวลาเคี้ยวจะได้รสชาติดีทำอาหาร ได้ทั้งผัดและต้มแกง ให้คุณค่าทาง
อาหารสูงเช่นเดียวกับเห็ดชนิดอื่นๆปัจจุบันเริ่ม มีการเพาะเห็ดนี้กันมากขึ้น แต่ผลผลิตยังน้อยไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาด

 

สิ่งสำคัญที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการทั่วไป

1.ธาตุอาหาร (Nutrition)

เห็ดเป็นพืชชั้นต่ำไม่สามารถสังเคราะห์อาหารเองได้(Hetrotroph)จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารสำเร็จรูปจากแหล่งต่างๆเช่นไม้ผุหรือ
ปุ๋ยหมักเป็นต้น เป็นเห็ดที่มีน้ำย่อยที่สามารถย่อยอาหารเชิงซ้อน โดยเฉพาะ พวกที่ให้พลังงานได้เช่นธาตุคาร์บอนที่อยู่ในรูปเชิงซ้อน ได้แก่
พวกลิกนิน (Lignin) ฮิมิเซลลูโลส (Hemicellulouse) โดยเส้นใยเห็ดมีน้ำย่อยทำการย่อยธาตุอาหารด้วยตัวมันเองได้ และนำเอาไปใช้
พลังงานที่ใช้ในการเจริญเติบโต และแบ่งเซลของมันจากเหตุผลดังกล่าว จึงสามารถใช้วัสดุเพาะโดยตรงได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องทำการหมัก
เสียก่อนยกเว้น วัสดุบางชนิดที่มียางที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด หรือ เป็นวัสดุที่แข็งยาว ยากต่อการนำเอาไปบรรจุในถุง เช่น 
ฟางข้าวต้น ข้าวโพด ขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ เป็นต้น ควรทำการหมักให้นิ่มก่อน หรือ ให้จุลินทรีย์ ช่วยย่อยให้ระดับหนึ่งก่อน แต่ไม่ถึงกับ
หมักจนเน่าสลายเหมือน การหมักปุ๋ยเห็ดฟาง เห็ดแชมปิญอง

2.อุณหภูมิ Temperature
อุณหภูมิก็นับว่ามีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดอยู่ไม่น้อย อุณหภูมิ 24 - 30 C เป็นอุณหภูมิที่เหมาะแก่การเจริญเติบโต
ของเส้นใยและดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น

3.ความชื้น Humidity
องค์ประกอบเห็ดทุกส่วน ไม่ว่าเส้นใยเห็ดหรือดอกเห็ดโคนญี่ปุ่น จะมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่มากถึง 90% ยกเว้นสปอร์น้ำมีความจำ
เป็นต่อกระบวนการต่างๆ และการรักษาสภาพอุณหภูมิภายในเซลล์ ดังนั้นทุกขั้นตอนของการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นช่วงของการเจริญ
เติบโตของเส้นใยเห็ด การเกิดดอกการเจริญเติบโตของดอกเห็ดล้วน แต่ต้องการความชื้นสูง โดยปกติแล้วเว้นเสียแต่ระยะที่ทำให้เกิดดอกต้องเปิด
ปากถุงให้สัมผัสกับบรรยากาศ โดยจะต้องควบคุมบรรยากาศให้มีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ระหว่าง 80-90 %

4.อากาศ (Air)
คำว่าอากาศในที่นี้ หมายถึง ก๊าซออกซิเจนหรืออากาศบริสุทธิ์ จากภายในวัสดุเพาะหรือโรงเรือนเพาะเห็ด ทุกระยะของการเจริญเติบโต
ของเห็ดโคนญี่ปุ่น ล้วนแล้วแต่ต้องการอากาศในการหายใจทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระยะของการสร้างและการเจริญเติบโตของดอกเห็ด

5.แสง (Light)
ช่วงที่เส้นใยเห็ดเจริญเติบโต ไม่ต้องการแสง ช่วงที่เส้นใยสะสมอาหารและกำลังจะรวมตัวเป็นดอกเห็ด พบว่าแสงมีความจำเป็นในการ
กระตุ้นให้เกิดเส้นใยของเห็ด รวมตัวกันเป็นดอกเห็ดแสงรำไรที่ส่องเข้าไปในโรงเรือนอย่างสม่ำเสมอ และทั่วถึงจะทำให้ดอกเห็ดพัฒนาได้สมบูรณ์
ดียิ่งขึ้นหากแสงไม่เพียงพอ ดอกเห็ดจะโน้มไปหาแสงที่มีความเข้มข้นสูง ในทางตรงข้าม หากแสงมากเกินไป ดอกเห็ดจะสีคล้ำและแห้งง่าย

6.ความเป็นกรด-ด่าง (PH)
ระดับความเป็นกรดเป็นด่าง ที่เห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการอยู่ในระดับค่าเป็นกลาง 6.5-7.5

7.สารพิษ
ไม่ควรใช้สารเคมี หรือสารประกอบที่มีพิษกับการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น

วัสดุ อุปกรณ์ ที่สำคัญในการเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่น

วัสดุเพาะ วัสดุเพาะที่นิยมมากที่สุด คือขี้เลื่อยจากไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพารา ไม้งิ้ว ไม้นุ่น ไม้ก้ามปู ไม้กระถินณรงค์ กากเป็นไม้เนื้อ
แข็ง เช่น ไม้มะขาม ไม้ทุเรียน ไม้ขนุน ต้องทำการหมักสลายยางไม้เสียก่อน วัสดุเพาะที่นิยมกรณีที่ไม่มีขี้เลื่อย คือ ฟางข้าว ต้นข้าวโพด
ต้นข้าวฟ่าง วัสดุเพาะดังกล่าวนี้หากนำไปเพาะเห็ด จะทำให้ผลผลิตค่อนข้างสูงคุณภาพดี ไม่มีกลิ่นไม้ รสชาติดีกว่า แต่ต้องทำการหมักจน
กว่าวัสดุเพะจะนิ่มและหอม จึงจะสามารถนำไปเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นได้

สูตรอาหาร เห็ดโคนญี่ปุ่นเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ดังนั้น การที่จะเพาะเห็ดโคนญี่ปุ่นให้ได้ผลผลิตสูง คุณภาพดี ก็ควรทำการเสริม
หรือเติมธาตุอาหารที่เห็ดต้องการเข้าไปให้ครบถ้วน

 

สูตรอาหารสำหรับเห็ดโคนญี่ปุ่น

สูตรทั่วๆไป

ขี้เลื่อยแห้ง 100 กก.

รำละเอียด 10 กก.

ใบกระถิ่นป่น 3 กก.

ข้าวโพดป่นหรือแป้ง 1 กก.

ส่าเหล้า 1 กก.

หินฟอสเฟต 1 กก.

ปูนโดโลไมท์หรือปูนขาว 1 กก.

ดีเกลือ 0.1 กก.


การบรรจุถุงพลาสติก ถุงพลาสติกที่นำมาบรรจุวัสดุเพาะเห็ดนิยมใช้ถุงกันร้อน พับก้นเรียบร้อยแล้ว สำหรับวัสดุเพาะที่เป็นขี้เลื่อย นิยมใช้
ถุง ขนาด 6.5 x 12.5 นิ้ว หนา 0.10 มม. ถ้าเป็นฟางใช้ 9x13 นิ้วหนา. 10มม. การบรรจุวัสดุเพาะลงในถุงนั้นควรบรรจุประมาณ 3 ใน 4
ของความสูง กด ทุบ เพื่อให้วัสดุเพาะแน่นพอสมควรหรือพยายามให้อากาศเหลือน้อยที่สุดในถุง แล้วจึงใส่คอขวด อุดด้วยจุกประหยัดสำลี

การนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์

 การนึ่งฆ่าเชื้อนั้นจะนึ่งด้วยหม้อนึ่งแบบไหนก็ได้ สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรระวัง คือ

  1. อุณหภูมิที่ใช้ คืออุณหภูมิน้ำเดือดธรรมดา 98-100 องศาเซลเซียส
    2. ต้องไล่อากาศออกให้สม่ำเสมอ เพราะนอกจากนึ่งเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้ว จะต้องไล่ก๊าซพิษออกให้หมด ด้วยวิธีการทดสอบว่าไล่ก๊าซพิษ
    ออกหมดหรือยังให้สังเกตจากกลิ่นด้วยการผ่าก้อนเชื้อและดมดูหรือดมกลิ่นไอที่ระบายออกมาจากหม้อนึ่ง ขณะที่ทำการนึ่ง ใช้เวลาการนึ่งนับตั้ง
    แต่น้ำเดือดพ่นออกจากปากท่อระบายไอออกอย่างสม่ำเสมอ จึงทำการจับเวลา การจะใช้เวลานานเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของหม้อนึ่ง
    โดยปกติหากเป็นหม้อนึ่งขนาดเล็กที่นึ่งได้ไม่เกิน 100 ก้อน ใช้เวลานึ่งประมาณ 2 - 3 ชม. ขนาดไม่เกิน 1,000 ก้อน ใช้เวลานึ่ง 3 - 4 ชม.
    หากใหญ่กว่านั้นให้ใช้เวลา 4-6 ชม.
    3. เมื่อนึ่งสุกแล้ว เอาออกจากหม้อนึ่งไว้ในที่สะอาด จะให้ดีควรคลุมด้วยมุ้งผ้าฝ้าย เพื่อกันไม่ให้ฝุ่นหรือเชื้อโรคตกลงไป

 

การเขี่ยเชื้อ

สำหรับหัวเชื้อที่ใช้ควรเป็นเชื้อบริสุทธิ์ไม่มีการถ่ายเชื้อหลายครั้งก่อนเขี่ยเชื้อควรทำการเขย่าเมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกันก่อน 1-2 วัน เพื่อ

1. สะดวกแก่การนำไปใช้
2. เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างแยกออกจากกัน เส้นใยเห็ดยังได้รับความบอบช้ำอยู่ หากนำเอาไปใช้เลย อาจถูกเชื้อโรคเข้าไปทำลายหรือแข่ง
ขันได้
3. เพื่อให้เชื้อเห็ดเจริญเข้าไปในเนื้อเมล็ดข้าวฟ่างมากขึ้น เพราะระยะแรกเส้นใยเห็ดเจริญเฉพาะบริเวณรอบๆเมล็ดนั้นจะทำให้ประหยัด
และเชื้อเห็ดพุ่งแรงมาก
4. ลดความเสี่ยงทั้งนี้เนื่องจาก หากเชื้อไม่บริสุทธิ์ หลังจากทำการเขย่าแล้วเชื้อคู่แข่งที่แฝงติดอยู่จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วกว่า เชื้อเห็ด
จะไม่เจริญหรือเจริญไม่สม่ำเสมอ ก็คัดทิ้งออกก่อนที่จะนำไปใช ้เพราะหากเชื้อไม่บริสุทธิ์เมื่อเอาไปใช้ก้อนเห็ดที่ใช้หัวเชื้อขวดนั้นก็คงเสียทั้งชุด
หัวเชื้อเห็ดที่ยังไม่นำไปใช้เมื่อเชื้อเห็ดเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่างแล้ว หากยังไม่นำเอาไปใช้ควรทำการเขย่า แล้วเก็บไว้ในตู้เย็นชั้นแช่ผักที่อุณหภูมิ
ประมาณ 8 - 10 องศาเซลเซียส จะเก็บได้นานเป็นเดือนก่อนใช้นำมาเขย่าเก็บไว้อีก 2 - 3 วัน เพื่อให้เส้นใยเห็ดฟื้นตัวเสียก่อน วิธีการเขี่ยเชื้อ
หลังจากที่ก้อนวัสดุเพาะที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ให้นำเอาเข้ามาในห้องที่สะอาดหรือสถานที่ที่ทำการเขี่ยเชื้อ ถ้าเป็นห้องเขี่ยเชื้อควรเป็นห้องที่
สะอาด ก่อนและหลังการนำเอาของเข้ามาในห้องเขี่ยเชื้อ ควรทำความสะอาดพื้นห้องทุกครั้ง ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลกอฮอล์ น้ำยาคลอรีน
ผสมน้ำเช็ดหรือถูพื้น ข้างฝาทุกๆ 10 - 15 วัน ควรปิดห้องเพื่อทำการอบฆ่าเชื้อในบรรยากาศหรือตามซอกตามมุม โดยใช้ด่างทับทิมผสม
ฟอร์มาลิน อบทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากไม่มีห้องเขี่ยเชื้อ ให้ใช้มุ้งผ้าฝ้ายที่สะอาดคลุมกองก้อนวัสดุเพาะแล้ว จึงทำการเขี่ยเชื้อเห็ดลงไปก่อนที่จะทำ
การเขี่ยเชื้อลงไปนั้นให้ใช้ แอลกอฮอล์ หรือ น้ำยาคลอรีน เช็ดปากขวดหัวเชื้อเสียก่อน จากนั้นจึงเทหัวเชื้อใส่เข้าไปยังปากถุงอย่างรวดเร็วโดย
การเปิดจุกประหยัดสำลีออก ใส่หัวเชื้อลงไป 15 - 20 เมล็ด ก็พอ รีบปิดปากถุงตามเดิมทันที จากนั้นจึงทำการเทหัวเชื้อในถุงต่อไปทันที หาก
เป็นไปได้ อย่าพยายามตั้งขวดหัวเชื้อขึ้น เพราะเท่ากับเป็นการดูดเอาอากาศที่สกปรกเข้าไป หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น 1 ขวด เขี่ยได้ 50 ถุง

 

การบ่มเชื้อ

หลังจากการใส่หัวเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่นลงไปแล้ว นำเอาไปบ่มในห้อง สำหรับการบ่มเชื้อ หรือ โรงเรือนสำหรับเปิดดอกเลยในระยะ
ที่ทำการบ่มเชื้อนั้น ไม่มีการรดน้ำ ไม่ต้องการแสง ดังนั้นภายในโรงบ่มมีเพียงแสงสลัวๆก็พอ เพราะถ้าหากแสงมากเกินไปเส้นใยเห็ดจะเจริญ
ช้า และต้องการอุณหภูมิห้องธรรมดา ประมาณ 24-28 องศา 

- ในการบ่มก้อนเชื้อเห็ดโคนญี่ปุ่น จะใช้เวลาประมาณ 50 วัน เชื้อจะเดินเต็มถุง แล้วจึงจะนำไปเปิดปากถุง -

 

การกระตุ้นให้ออกดอก


เมื่อเส้นใยเห็ดเจริญเต็มวัสดุเพาะแล้ว สามารถนำไปกระตุ้นให้เกิดดอกได้ โดยเห็ดโคนญี่ปุ่นต้องการปัจจัยในการออกดอก ดังนี้

1. ต้องการพักตัวในการสะสมอาหารก่อนการเปิดดอก 
2. อากาศในโรงเรือนมีการถ่ายเทของอากาศ ปานกลาง
3. อุณหภูมิในช่วงของการเปิดดอก 24-30 องศาเซลเซียส 
4. ความชื้นที่ต้องการ 80 - 85 %
5. ออกดอกรุ่นแรก 10 วัน 
6. อายุดอก 1 วัน
7. เว้นระยะแต่ละรุ่น 15-20 วัน
8. จำนวนครั้งที่มีดอก 12-18 ครั้ง
9. ผลผลิตเฉลี่ย/รอบ 20-25 กรัม
10. ผลผลิตเฉลี่ย/ก้อน 200-250 กรัม 
11. ราคาประกันรับซื้อ 120 บาท/กก.

 


การดูแลรักษาสำหรับช่วงที่ทำให้เกิดดอกเห็ดนี้ ควรศึกษาสภาพแวดล้อม และปัจจัยที่มีผลกระทบต่อดอกเห็ดให้ถ่องแท้ เพราะจะทำให้การแก้ปัญหา ได้ดียิ่งขึ้น

อุปสรรค ปัญหาและการแก้ไข ของเห็ดโคนญี่ปุ่น (บางส่วน)

 เขี่ยเชื้อเห็ดลงไปแล้ว เส้นใยเห็ดไม่เจริญออกมาเป็นดอกเห็ด
มีหลายสาเหตุ ด้วยกัน คือ
**** เชื้อเห็ดตาย หรือเสีย
**** ทำการเขี่ยเชื้อเห็ดในขณะที่ก้อนวัสดุยังร้อนเกินไป
**** ก้อนวัสดุเพะมีก๊าซพิษ เช่น แอมโมเนียหลงเหลืออยู่

เชื้อเห็ดเจริญเติบโตไม่ถึงก้นถุงแล้วหยุดชะงัก
อาจมีสาเหตุมาจาก
**** ก้อนเชื้อเปียก หรือ มีความชื้นมากเกินไป
**** อุณหภูมิห้องบ่มสูงเกินไป ในกรณีนี้ ควรทำการรดน้ำที่พื้นโรงเรือน พร้อมทั้งเปิดประตู หรือฝาด้านข้างให้ลมโกรกเอาความร้อนออก

ดอกเห็ดที่เกิดรุ่นหลัง ดอกเห็ดแห้งเหี่ยวตาย
อาจมีสาเหตุมาจาก
**** เกิดจากการรักษาระดับความชื้นไม่พอดี 
****รดน้ำมากเกินเชื้อแบคทีเรียเข้าไปทำลายดอกเห็ด ดังนั้น ในระยะออกดอกอย่าพยายามรดน้ำให้ถูกดอกเห็ดมากเกินไป ควรรดเฉพาะ
ที่พื้น ข้างฝา เพดาน และฉีดเป็นฝอยละเอียดไปที่ดอกเห็ดเล็กน้อย

ก้อนเชื้อหมดอายุเร็ว และให้ผลผลิตต่ำ
**** วัสดุเพาะถูกหมักนานเกินไป ก่อนที่จะนำเอามาเพาะเห็ด
**** ใช้ขี้เลื่อยไม่เนื้ออ่อนเกินไป 
**** มีการสะสมเชื้อโรคภายในโรงเรือน ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้ามาทำลายเชื้อเห็ดได้

อ้างอิงจาก

นาย สิทธิกาญจน์ ไทยเจียมอารีย์

 

 

© ฟาร์มเห็ด Bassbio. All Rights Reserved.

Login Form

Bassbio