สมุนไพรใกล้บ้าน(หลินจือ)

รู้จักกับเห็ดหลินจือสมุนไพรใกล้บ้าน

เห็ดหลินจือ

เห็ดหลินจือ มีต้นกำเนิดจากภูเขาในประเทศจีน ซึ่งชาวจีนค้นพบมายาวนาน กว่า 2,000 ปี แล้วว่ามีคุณค่าสามารถป้องกันและบำบัดรักษาโรค ในร่างกายเราเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ เห็ดหลินจือ ตามความเชื่อของแพทย์จีนมีอยู่หลายชนิด โดยจำแนกตามสีและสรรพคุณ อย่างน้อยมี 6

ชนิด โดยมีสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือชนิดต่างๆ แตกต่างกันนอกจากนั้น ในสมัยโบราณ จีนยังได้ใช้เห็ดหลินจือ เป็นสัญลักษณ์แห่งการเป็น สิริมงคลอีกด้วย


ในระยะ 30 ปีที่ผ่านมา ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา และยุโรป

 

ซึ่งได้ค้นพบสรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือจำนวนมาก ที่สำคัญได้แก่ การเสริมประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย การบำรุงตับและการควบคุมโรคมะเร็ง โดยสรรพคุณเหล่านี้เป็นการวิจัยในเห็ดหลินจือสีแดงน้ำตาลเท่านั้น
ตระกูล :
Polyporaceae
ชื่อสามัญ :เห็ดหลินจือ เห็ดหมื่นปี เห็ดเล่งจือ เห็ดขอนไม้ เห็ดจวักงู ฯลฯในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Reishi ในภาจีนเรียกว่า Ling zhi
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.
ชื่อท้องถิ่น :
Lacquered mushroom, Holy mushroom
ลักษณะทั่วไป :
เห็ดหลินจือจัดเป็นราขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ที่มีรูปร่างคล้ายไต สีแดงอมน้ำตาล หรือสีม่วงแก่ มีลาย วงแหวน มีความวาวเป็นมัน มีลักษณะแข็งเหมือนเนื้อไม้ ปลายรอบนอกสุดของหมวกเห็ดบาง และม้วนเข้าด้านในเล็กน้อย ผิวในของหมวกเห็ดมีสีขาว หรือน้ำตาลอ่อน ก้านดอกเห็ดมีสีน้ำตาลแดง มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 4 ซ.ม

 

ในประเทศไทย สามารถพบเห็ดหลินจือในธรรมชาติได้เกือบทุกภาคของประเทศ ซึ่งก็จะมีชื่อเรียกพื้นบ้านที่ต่างกันไป เช่น เห็ดจวักงู เห็ดกระด้าง เห็ดไม้ เห็ดนางกวักฯลฯ และพบว่ามีการใช้เห็ดหลินจือในการป้องกันโรคหวัด แก้พิษงู และแมลงสัตว์กัดต่อย แก้อาการเมาเห็ด บำรุงกำลัง แก้ปวดหลัง และรักษาโรคภายใน ซึ่งในปัจจุบันมีสถาบันต่างๆหลายแห่งได้ศึกษาวิจัยเห็ดหลินจือ

 

ส่วนในด้านกฎหมายได้มีการจดทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ไว้ในสรรพคุณเรื่องการบำรุงร่างกายเท่านั้น


ส่วนที่นำมาเป็นประโยชน์:
หมวกเห็ด ( Fruiting body )
องค์ประกอบทางเคมี :
1. โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharides) ประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์หลายชนิด มีโครงสร้างหลักเป็น เบต้า-ดี-กลูแคน

2. ไทรเทอร์ปีนอยด์ ( Triterpenoids ) มีโครสร้างเป็น Lanostanoid พบมากกว่า 60 ชนิด เป็นสารที่มีรสขม

3. สเตียรอยด์ ( Steriods ) ที่สำคัญ คือ ergosterol

4. โปรตีน ที่สำคัญ คือ Ling Zhi-8 ประกอบด้วยกรดอะมิโน 110 โมลิกุล มีคาร์โบไฮเดรตในโมลิกุล 1.3%

5. นิวคลีโอไซด์ และ นิวคลีโอไทด์ (Nucleisides and Nuleotides)

6. ไลปิดส์ (Lipids) ได้แก่ behenic acid , lignoceric acid , linoleic acid , nonadecanoic acid , oleic acid , paimiyic acid , stearic acid และ tetradec-cis-9-enoic acid

7. สารกลุ่มอื่นๆ กลุ่ม sesquiterpenes เช่น 15- hydroxyacorenone กลุ่ม quinoids เช่น crysophanic acid , crysophanic acid glucoside สารประกอบกำมะถัน เช่นcyclooctasulfur สารประกอบอินทรีย์ เช่น germanium

 

สรรพคุณทางยา :
สมุนไพรเห็ดหลินจือ ได้รับการยอมรับในการนำมารักษาโรคด้วยวิธีทางธรรมชาติ ด้วยหลักการแห่งความสมดุลของหยินหยาง เพื่อสร้างความสมบูรณ์แขงแรงของร่างกายให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้ง 3 ระบบได้แก่
1. ระบบทางเดินอาหาร โรคกระเพาะอักเสบ ลำไส้อักเสบ ท้องผูก ตับอักเสบ


2. ระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้

3. ระบบไหลเวียนของโลหิต โรคความดันโลหิต โรคหัวใจ โรคเม็ดเลือดขาวต่ำ ขจัดสารพิษในหลอดเลือด

< บรรเทาอาหารปวด โรคประสาท โรคตับแข็ง โรคไตอักเสบ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง เช่น พร้อมทั้งยังสามารถบรรเทาอาการของโรคอื่นๆได้>

สำหรับผู้ที่มีสภาพร่างกายปกติก็สามารถรับประทานเห็ดหลินจือได้เพื่อเป็นการบำรุงสมอง เพิ่มภูมิต้านทานโรคต่างๆ บำรุงผิวพรรณ ให้เปล่งปลั่ง สดใส ชะลอความชรา เมื่อรับประทานเห็ดหลินจือได้ 1 วันอาจจะเกิดปฏิกริยาทางระบบขับถ่าย ของร่างกายและผิวพรรณ สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าสารโพลีแซคคาไรด์ในเห็ดหลินจือได้เริ่มขับถ่ายสารพิษที่สะสมอยู่ในร่างกายออกมา และเมื่อรับประทานติดต่อกัน 2-4 วัน อาการต่างๆเหล่านี้จะหายไปเองและจะทำให้ร่างกายสดชื่นขึ้น

เหมาะสำหรับ:
ผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย เช่น เด็กในวัยเรียน วัยทำงาน และผู้สูงอายุ เป็นต้น
ผู้ที่มีความดันโลหิตไม่อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ผู้ที่มีน้ำตาลในเลือดสูง เช่นผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ผู้ที่ไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
ผู้ป่วยโรคมะเร็ง
ผู้ป่วยที่เกี่ยวกับตับและไต
ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับเลือดแข็งตัวช้า

ปริมาณที่ใช้:

การใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง : ใช้เห็ดหลินจือแห้งวันละ 9-15 กรัม/วัน หรือ เห็ดหลินจือสกัดวันละ 2 กรัม/วัน

การใช้เพื่อรักษาโรคทั่วไป : ใช้เห็ดหลินจือแห้งวันละ 3-6 กรัม/วัน หรือ เห็ดหลินจือสกัดวันละ 0.5-2 กรัม/วัน

ผลการวิจัย สรรพคุณทางยาของ เห็ดหลินจือ

ส่วนประกอบ

สรรพคุณ

Adenosinc

การแก้ปวด

Ganodemic acid R, S Ganosterone Glucan

การป้องกันตับ

Polysaccharides, Glucans

การลดการอักเสบ

Polysaccharides,Alkaloids

การควบคุมมะเร็ง

Ganodemic acids, Cyclooctasulfur

บำรุงหัวใจ

Ganodemic acids

การแก้แพ้

Ganoderans

การลดไขมันในเลือด

Ganoderol Ganoderic

การลดน้ำตาลในเลือด

Polysaccharides, Protein

การปรับความดันโลหิต

Nucleic acids

การสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค

 

การสร้างอินเตอร์เฟียรอน (Interferon)

Adenosine

 

polysaccharides

การลดการจับตัวของเกร็ดเลือด

polysaccharides

การสร้างโปรตีน

 

การป้องกันรังสี

http://www.lannapoly.ac.th/health/web-2/002.htm

http://www.myherb.is.in.th/?md=content&ma=show&id=8&PHPSESSID=67241de6898f916a470bd36066911941

 

พบสรรพคุณ เห็ดหลินจือ ช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโรคไต

เห็ดหลินจือ เป็นหนึ่งในสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและรักษาโรคเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมาเป็นเวลานาน ล่าสุดอาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้นำสรรพคุณของพืชที่มากคุณค่าชนิดนี้มาใช้รักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน ซึ่งมีผลทำให้อาการไข่ขาวรั่วในปัสสาวะของผู้ป่วยไตลดลงและป้องกันภาวะเข้าสู่ไตวายได้

รศ.พญ.ดร.นริสา ฟูตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ได้เปิดเผยถึงสถิติของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังว่ามีประมาณ ๒๕๐ คน ต่อหนึ่งล้านคนต่อปี ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่เข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้ายต้องเข้ารับการฟอกไตหรือเปลี่ยนไตอยู่ในอัตรา ๗% ต่อปี และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังพบว่า ๓ - ๕% ของผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บจะมีความผิดปกติของไต สาเหตุของการเกิดโรคไตนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยทางกรรมพันธุ์เข้ามาเกี่ยวข้องร่วมกับสิ่งกระตุ้น เช่น การติดเชื้อ ได้รับสารพิษ ฯลฯ อย่างไรก็ตามสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการไตวายขั้นสุดท้ายมาจากปัจจัยเสี่ยงคือ การเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิต ไขมันในเลือดสูงปัจจุบันวิธีรักษาโรคไตจะรักษาโดยการแก้ไขปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุทำให้ป่วยเป็นโรคไตร่วมกับการให้ยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งยากดภูมิคุ้มกันซึ่งใช้ได้ผลในผู้ป่วยบางกลุ่มเท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอาการไตเรื้อรังขั้นรุนแรงจะมีการตายของเนื้อไต ในที่สุดจะเข้าสู่ภาวะไตวายขั้นสุดท้ายภายในระยะเวลา ๑๐ - ๑๕ ปี

รศ.พญ.ดร.นริสา กล่าวต่อไปว่า จากการศึกษาร่วมกับนักวิจัยหลายท่านได้นำไปสู่การนำสมุนไพรมาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบัน เห็ดหลินจือได้ชื่อว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องการสร้างสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเป็นพิษที่มีอยู่ในเลือดซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการรักษาโรคต่างๆ จึงเป็นที่มาของการนำพืชสมุนไพรชนิดนี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีอาการดื้อต่อการรักษาด้วยยาแผนปัจจุบัน โดยปกติแล้วเซลล์บุผิวหลอดเลือดในร่างกายของเราจะทำหน้าที่สร้างสารขยายหลอดเลือดทำให้เลือดแข็งตัวและหลอดเลือดไม่อุดตัน จากการศึกษาวิจัยโดยการตรวจสอบน้ำเลือดของผู้ป่วยในหลอดทดลองซึ่งมีเซลล์บุผิวหลอดเลือดพบว่าน้ำเลือดในผู้ป่วยจะทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดตายในอัตราที่สูง เนื่องจากในน้ำเลือดของผู้ป่วยมีสารกระตุ้นการอักเสบ ซึ่งทำให้เซลล์บุผิวหลอดเลือดรวมไปถึงเซลล์ไตตาย ในขณะที่สารต้านการอักเสบจะลดต่ำลง แสดงให้เห็นถึงภาวะสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเสียไป เลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงไตจึงพร่อง ทั้งนี้จากการศึกษาโดยการให้เห็ดหลินจือในรูปของแคปซูลแก่ผู้ป่วยโรคไตร่วมกับยาแผนปัจจุบันคือยาขยายหลอดเลือด ผลการศึกษาพบว่าสารที่เสริมการอักเสบมีภาวะลดน้อยลง สารต้านการอักเสบมีภาวะที่สูงขึ้นและทำให้การตายของเซลล์บุผิวหลอดเลือดลดลง มีเลือดไปเลี้ยงไตเพิ่มขึ้น อัตราการกรองของเสียเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันระดับของโปรตีนหรือไข่ขาวที่รั่วออกมาในปัสสาวะก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ช่วยฟื้นฟูสมรรถนะการทำงานของไตได้ดียิ่งขึ้น เป็นการยืดอายุการเข้าสู่ภาวะไตวายได้

รศ.พญ.ดร.นริสา ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคไตว่าผู้ป่วยจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการดำเนินชีวิตโดยให้ความสำคัญในเรื่องอาหาร น้ำ อากาศ การออกกำลังกาย การกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนในปริมาณที่จำกัด ควบคุมระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารให้ครบ ๕ หมู่ ดื่มน้ำให้มากเพียงพอเพื่อไม่ให้ไตขาดเลือด ที่สำคัญคือควรงดสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด

 

http://w3.chula.ac.th/research/CU_Onlin/june/June24_1/june24_2.htm

© ฟาร์มเห็ด Bassbio. All Rights Reserved.

Login Form

Bassbio